ทำความรู้จักกับ ค่า Excess คืออะไร เคลมแบบไหนต้องจ่ายค่า Excess

เวลาเจออุบัติเหตุบนท้องถนน ผู้ใช้งานรถมักจะต้องแบกค่าใช้จ่ายหนักมาก คนส่วนใหญ่อยากได้ประกันที่เคลมไวจ่ายให้ก่อน แทนที่จะต้องมาจ่ายก่อนเคลมทีหลัง บทความนี้เลยอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับ ‘ค่า Excess’

————————————————————————————————————

เน้นการถ่ายภาพคนนับธนบัตรดอลลาร์

ทำความรู้จักกับ ค่า Excess คืออะไร เคลมแบบไหนต้องจ่ายค่า Excess

เมื่อคุณต้องเลือกประกันรถยนต์ คุณจะเลือกจากอะไร บางคนอาจเลือกแบบที่ราคาไม่แพงแค่สมัครไว้ติดรถแค่นั้น หรือบางคนอาจเลือกความคุ้มครองให้ครอบคลุมตามไลฟ์สไตล์การใช้รถ ใช้ถนน ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่อีกปัจจัยที่หลายคนชอบนึกถึง แต่ไม่รู้จักชื่อก็คือ การจ่าย ‘ค่า Excess’ เพราะปกติเวลาเจออุบัติเหตุบนท้องถนนผู้ใช้งานก็มักจะต้องแบกค่าใช้จ่ายหนักมากอยู่แล้ว เลยอยากได้ประกันที่เคลมไวจ่ายให้ก่อนมากกว่าที่จะต้องมาจ่ายก่อนเคลมทีหลัง ส่วนคำว่า ‘ค่า Excess’ บทความนี้จะขอพาไปทำความรู้จักให้มากขึ้นกัน

ค่า Excess คืออะไร

ค่า Excess หรือค่าที่หลายคนเรียกว่า ‘ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ’ คือ ค่าเสียหายตามวงเงินที่ผู้ทำประกันหรือผู้ขับขี่จะต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนหนี้ก่อนเคลมเอาเงินประกัน เป็นส่วนบังคับที่ไม่ว่าคุณจะสมัครประกันชั้นไหนก็จำเป็นจะต้องจ่ายค่า Excess ส่วนนี้ก่อน (ถึงจะทำประกันชั้นหนึ่งไว้ก็ตาม) ส่วนใหญ่เจ้าของรถจะโดนค่า Excess จาก 2 กรณี ดังนี้

  • เกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ใช่สาเหตุจากการชนหรือพลิกคว่ำ
  • เกิดอุบัติเหตุจากการชน แต่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้

เหตุผลที่ทำให้มีค่า Excess ก็เพราะฝั่งผู้ให้บริการประกันกังวลว่า จะไม่ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง แต่เป็นการสร้างเรื่องเพื่อเอาเงินประกันรึเปล่า (เพราะบางทีก็จะมีคนที่ทำประกันหวังเอาเงินประกันเหมือนยอมเห็นรถไม่สวยได้ แต่ขอให้ตัวเองได้เงินใช้ก็พอ บางคนถึงขั้นเอาคัตเตอร์กรีดหรือจงใจขับรถชนให้เกิดร่องรอยเองเลยก็มี ถือว่า ลงทุนมาก ๆ ฯลฯ) แต่บางทีการตั้งเงื่อนไขให้ต้องจ่ายค่า Excess ก็เป็นเหมือนการเตือนให้คุณต้องระวังมากขึ้น เพราะถ้าต้องควักเงินจ่ายเองก่อนยังไงก็ระวังมากกว่าประกันเคลมให้แน่นอน

เคลมแบบไหนต้องจ่ายค่า Excess บ้าง

สงสัยกันแล้วล่ะสิว่า กรณีไหนถึงจะต้องจ่ายค่า Excess บ้าง เพราะจะได้ระวังตัวไว้ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือบางสถานการณ์ที่อาจทำให้ต้องควักเงินจ่ายค่า Excess ก่อน หลัก ๆ ก็จะมีประมาณนี้

– รถยนต์เสียหาย แต่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น รอยขีดข่วนจากกิ่งไม้หรือสิ่งมีชีวิต, ขูดพื้นถนน ฯลฯ

– อ้างว่า ชนรถยนต์คันอื่นเหมือนมีคู่กรณี แต่ไม่สามารถบอกเล่ารายละเอียดเหตุการณ์หรือคู่กรณีได้ บางทีอาจมีการเช็คร่องรอยและประเมินดูว่า มีความเป็นอุบัติเหตุได้หรือไม่

– มีการถูกกลั่นแกล้งหรือคนฝั่งใดฝั่งหนึ่งจงใจทำขึ้น

แต่ถ้าชนกับคู่กรณีจริง น่าเชื่อถือว่ามีการชนจริง, กระแทกทางเดิน, พลิกคว่ำ, ชนสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ฯลฯ กรณีเหล่านี้อาจไม่ต้องเสียค่า Excess ซักบาทเลย (และความจริง ค่า Excess ส่วนใหญ่ก็ไม่แรงนะ เพียงแค่เหตุการณ์ละ 1,000 บาท)

ค่า Excess กับ Deductible ต้องจ่ายก่อน แต่อาจไม่ใช่ค่าเดียวกัน

อย่างที่ทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกันแล้วว่า ค่า Excess คืออะไร แต่ ช้าก่อน! ในวงการประกันรถยนต์ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของต้องจ่ายก่อนไม่ได้มีแค่ค่า Excess แต่ยังมีค่า Deductible อีก ซึ่งทั้งสองค่านี้ไม่เหมือนกันนะ ในส่วนของค่า Excess จะเป็นค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ กรณีที่บริษัทประกันกลัวจะไม่ใช่อุบัติเหตุหรือกระตุ้นให้คุณเกิดความระมัดระวัง แต่ค่า Deductible จะเป็นค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ ทุกครั้งที่มีการเคลมแล้วคุณเป็นฝ่ายผิดก็จะต้องดึงเงินในกระเป๋าออกมาจ่ายเองก่อนเสมอ ถามว่า แล้วใครล่ะจะเลือกสมัครใจ? ส่วนใหญ่ประกันแบบนี้เบี้ยประกันจะถูกกว่าแบบอื่น คนที่มั่นใจว่า ขับขี่ระวังตัวดีมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยมากก็อาจจะเลือกแบบนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายก็ได้

หวังว่า ทุกคนจะเข้าใจกับค่า Excess และขับขี่กันอย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะไม่ใช่แค่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่คนใช้รถ ใช้ถนน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและไม่ต้องมาเจ็บตัวด้วย เพราะประกันมีแล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แต่ไม่มี หาประกันแจ้งเคลมง่าย จ่ายสบาย มีรถใช้ทดแทน ชดเชยค่าเดินทางกลับบ้านที่ใช่สำหรับคุณได้ที่นี่ คลิก!